รายงานการเปิดเผยข้อมูล

(1.1) คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

(1.2) ประวัติกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

(1.3) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

(1.4) วาระการดำรงตำแหน่

(1.5) การเข้าร่วมประชุม

(1.6) อัตราค่าตอบแทนนายกสภามหาวิทยาลัย และ ค่าเบี้ยประชุม

(1.7) หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่

สำหรับการประเมินสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มิได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1 ของตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ของ สกอ. ปี พ.ศ. 2553 ระบุว่า “สภาสถาบันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า” หรือ ประเด็นที่ 5 ของตัวชี้วันที่ 12.1 ของ ก.พ.ร. ปีงบประมาณ 2552 ระบุว่า “สภามหาวิทยาลัยกำหนดให้มีระบบการประเมินตนเองตามหน้าที่และบทบาทของสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน และดำเนินการระบบนั้นโดยอาจใช้ผลจากคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย/สถาบันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” หรือ ตัวบ่งชี้ที่ 12 ของสมศ. ที่ใช้ “คะแนนผลการประเมินการดำเนินงานของสภาสถาบัน (คะแนนเต็ม 5) โดยสภาสถาบันนั้น ๆ เป็นผู้ประเมินตนเองภายใต้ประเด็นต่าง ๆ ห้าประเด็น”

ดังนั้น สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครจึงได้กำหนดแบบประเมินตนเองของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเครื่องมือให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยได้ประเมินระดับการปฏิบัติหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ เพื่อนำผลประเมินตนเองมาปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ตามโครงสร้างหน่วยงานและกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พ.ศ. 2567 – 2570 ที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 แบ่งโครงสร้างหน่วยงานภายในงานบริหารทั่วไป ประกอบด้วย 3 หน่วย ดังนี้

  1. หน่วยธุรการและสารบรรณ
  2. หน่วยเลขานุการ
  3. หน่วยประชุม

ซึ่งหน่วยประชุมจะรับผิดชอบในการจัดประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารบุคคลในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี คณะกรรมการประจำสำนักงานอธิการบดี และอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีภารกิจรับผิดชอบ ดังนี้

  • ควบคุมดูแล ติดตาม การปฏิบัติงานของงานประชุมและพิธีการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในการดำเนินการจัดทำวาระการประชุมการจัดประชุม การจัดทำรายงานการประชุม
  • จัดทำปฏิทินการประชุมประจำปี เตรียมการประชุมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย เตรียมการประชุมสภามหาวิทยาลัย และการประชุมอื่นที่ได้รับมอบหมาย
  • จัดทำระเบียบวาระการประชุม และจัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม จัดเตรียมเอกสาร ระเบียบวาระการประชุม
  • หนังสือเชิญประชุม บันทึกการประชุม จัดทำรายงานการประชุม แจ้งมติที่ประชุม และติดตามเรื่องตามมติที่ประชุม
  • ประสานกับหน่วยงานภายในเพื่อเวียนแจ้งมติที่ประชุม
  • จัดทำเอกสารประกอบวาระการประชุมต่าง ๆ เช่น การประชุมสภามหาวิทยาลัย ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และการประชุมอื่นที่ได้รับมอบหมาย
  • จัดเตรียมข้อบังคับ ระเบียบ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เสนอเข้าระเบียบวาระการประชุม
  • กำหนดเป้าหมาย และวางแผนดำเนินการอันเป็นหลักสำคัญในการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย
  • อำนวยความสะดวกในการประชุม เช่น เลี้ยงรับรองให้การต้อนรับแก่ผู้เข้าประชุม
  • จัดเตรียมอาหารว่างและจัดเก็บอุปกรณ์ในการจัดประชุม
  • จัดทำรายงานการประชุม ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันหลังการประชุม รวบรวมข้อมูลจัดส่งมติ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยสภามหาวิทยาลัย
  • จัดทำข้อมูลข่าวสารของสภามหาวิทยาลัย และเอกสารรายงานการประชุม ขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์
  • ปฏิบัติหน้าที่ และดำเนินการเกี่ยวกับคณะกรรมการสรรหาต่าง ๆ เช่น สรรหานายกสภามหาวิทยาลัย  สรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ สรรหาอธิการบดี สรรหาคณบดี สรรหาผู้อำนวยการ สถาบัน สำนัก สรรหาคณะกรรมการติดตามตรวจสอบฯ สรรหาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นต้น
  • ดูแลต้อนรับแขก กรรมการที่เข้าร่วมประชุมทั้งกรรมการภายใน และกรรมการจากบุคคลภายนอก
  • ติดต่อ ประสาน จัดหาที่พัก รถรับ – ส่ง ในการเดินทางไป กลับของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  • จัดทำเอกสารเบิกจ่าย เช่น ค่าเบี้ยประชุม ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสาร และชุดรายงานการเดินทางไปราชการของกรรมการในการเข้าร่วมประชุมจัดทำชุดเบิกรายงานการเดินทางไปราชการของกรรมการในการเข้าร่วมประชุม
  • รวบรวมผลการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย และจัดทำรายงานประจำปีของสภามหาวิทยาลัย
  • วิเคราะห์ สรุป รายงานค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแต่ละครั้งเพื่อเป็นข้อมูลทางสถิติ ประกอบการจัดทำงบประมาณในปีถัดไป
  • จัดเก็บรวบรวมเอกสารการประชุมให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการสืบค้น